วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2551

กลยุทธ์พัฒนาสินค้าเทคโนโลยี-นวัตกรรม

เรามักจะได้ยินเสมอว่าวิธีที่ เอสเอ็มอี จะพัฒนาธุรกิจให้ขยายตัวออกไปได้อย่างมั่นคงก็คือ การสร้างนวัตกรรม หรือ การสร้างความแปลกใหม่ให้กับสินค้าหรือกระบวนการในการดำเนินธุรกิจและส่วนประกอบหนึ่งของการสร้างความแปลกใหม่ ก็หนีไม่พ้นการสร้างหรือแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านต่างๆ มาเสริมความแข็งแกร่งให้กับกิจการโดยทั่วไปแล้ว กระบวนการพัฒนาสินค้าใหม่หรือการนำเทคโนโลยีใหม่มาประยุกต์เข้ากับตัวสินค้า เป็นเรื่องที่จะต้องมีการดำเนินการและวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อทำให้เอสเอ็มอีสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะความผิดพลาดในการออกสินค้าใหม่หรือการนำสินค้าใหม่สู่ตลาด อาจสร้างความเสียหายทางธุรกิจให้กับกิจการได้อย่างรุนแรงโดยเฉพาะสินค้าใหม่ที่ต้องใช้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ที่ต้องมีการลงทุนสูงถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีหน่วยงานสนับสนุนทางด้านการเงินให้กับเอสเอ็มอีที่ต้องการมุ่งสร้างธุรกิจนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่ไม่น้อย และทุกโครงการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนวัตกรรม ก็ย่อมจะเล็งผลเลิศและมุ่งประสงค์ที่จะนำธุรกิจใหม่นั้นไปสู่ความสำเร็จเชิงธุรกิจไม่ได้ต้องการที่จะกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อความ “มัน” หรือ ความต้องการที่จะพิสูจน์ฝีมือหรือความรู้ทางเทคนิคของตนเพียงอย่างเดียวเพื่อให้เอสเอ็มอีที่มุ่งเน้นการสร้างธุรกิจนวัตกรรม สามารถดำเนินการไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายได้ เอสเอ็มอีนวัตกรรม เถ้าแก่นักประดิษฐ์ หรือ เถ้าแก่ไฮเทค ทั้งหลาย ซึ่งปัจจุบันได้รับการเอ่ยถึงในนามของ Technopreneur ซึ่งมาจากคำว่า Technology (เทคโนโลยี) + Entrepreneur (ผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของธุรกิจ)Technopreneur ควรให้ความสำคัญกับขั้นตอนหรือกลยุทธ์ในกระบวนการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีหรือสินค้านวัตกรรม ซึ่งจะมีขั้นตอนต่างๆ เป็นลำดับ คือ
1. การมองเห็นโอกาสทางการตลาดสำหรับความต้องการสินค้าใหม่หรือเทคโนโลยีใหม่
2. การกลั่นกรองหรือคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ
3. การวิเคราะห์หรือประมาณการคร่าวๆ เกี่ยวกับความต้องการของตลาดและความเป็นไปได้ของผลตอบแทนเชิงธุรกิจ
4. การวิเคราะห์เบื้องต้นทางการเงินและแหล่งสนับสนุนทางการเงิน
5. การออกแบบหรือลงรายละเอียดในด้านความเป็นไปได้ทางเทคนิค
6. การจัดเตรียมความพร้อมและโครงสร้างสนับสนุนในการสร้างสินค้าหรือเทคโนโลยี
7. การสร้างสินค้าหรือเทคโนโลยีต้นแบบ
8. การทดสอบสินค้าหรือเทคโนโลยีภายในโรงงาน
9. การทดสอบสินค้าในสภาพใช้งานจริงในตลาดตัวอย่าง
10. การจัดทำแผนธุรกิจเพื่อเปิดตัวสินค้าอย่างเต็มรูปแบบ
11. การเริ่มต้นปฏิบัติตามแผนธุรกิจที่จัดทำไว้

ขั้นตอนสำคัญเริ่มแรกที่สุดก็คือ การมองเห็นโอกาสหรือการค้นพบโอกาสทางธุรกิจที่จะเป็นที่มาของแรงผลักดันหรือเกิดความคิดที่จะสร้างธุรกิจใหม่ขึ้นมามีผู้รวบรวมวิธีการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจไว้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้จากแหล่งต่างๆ ดังนี้

การค้นพบหรือการทดลองที่ได้รับความสำเร็จโดยไม่คาดคิดหรือโดยบังเอิญการทดลองหรือประสบการณ์ที่ล้มเหลว ไม่ได้ผลตามต้องการ แต่กลายเป็นการค้นพบสิ่งใหม่เหตุการณ์ภายนอกที่เกิดขึ้นหรือไปพบเห็นมาโดยไม่คาดฝันสภาวะของเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดความแตกต่างที่เป็นโอกาสการสังเกตช่องว่างหรือความแตกต่างระหว่างผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองที่คิดไว้กับผลที่เกิดขึ้นจริงเมื่อทดลองทำไปแล้วช่องว่างหรือความแตกต่างที่เกิดขึ้นจากการที่คิดว่าตลาดหรือผู้บริโภคจะยอมรับกับข้อเท็จจริงหรือการสนองตอบจริงของตลาดหรือผู้บริโภคผลที่เกิดจากการปฏิบัติงานหรือกระบวนการที่ตั้งใจไว้ แต่ได้ผลออกมาเป็นอีกอย่างหนึ่งการพัฒนาวิธีการทำงานเพื่อลดความผิดพลาดหรือเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างของตลาดหรือผู้บริโภคที่เอื้ออำนวยให้เกิดโอกาสโครงสร้างของประชากรและพฤติกรรมที่เอื้ออำนวยให้เกิดโอกาสทัศนคติ ความนิยม หรือ วิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปมีการสร้างความรู้หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ยังไม่มีใครรู้จักฯลฯจะเห็นได้ว่า แหล่งของโอกาสต่างๆ เหล่านี้ อาจแยกออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือโอกาสจากความบังเอิญ หรือที่เรียกว่า “เฮง”โอกาสจากการค้นพบหรือจากองค์ความรู้ใหม่ หรือที่เรียกว่า “เก่ง”โอกาสที่เกิดจากการเรียนรู้ในสิ่งที่ผิดพลาด หรือที่เรียกว่า “ผิดเป็นครู”ความไม่ “เก่ง” และไม่ “เฮง” ก็ยังจะสร้างโอกาสขึ้นได้ หากผู้ประกอบการยังเป็นคนที่ขยันทำงาน ช่างสังเกต และเรียนรู้กับสิ่งที่ตนเองได้ทำไปกับมือ ถึงแม้ว่าในครั้งแรกจะยังไม่เกิดความสำเร็จขึ้นมาความพยายามและความตั้งใจที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาด เป็นจิตวิญญาณที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะประสบความสำเร็จโอกาสของธุรกิจใหม่หรือธุรกิจนวัตกรรมไม่เพียงแต่จะอาศัยความสามารถภายในของกิจการ เช่น ความพร้อมในเรื่องการออกแบบและการผลิต และการมองการณ์ไกลของตัวเจ้าของธุรกิจเองแล้ว ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ก็คือความต้องการของตลาดอีกด้วยสินค้าใหม่ที่จะประสบความสำเร็จ จะต้องสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเหมาะเจาะ ถูกจังหวะ ถูกเวลา ความแปลกใหม่ที่จะมอบให้กับผู้บริโภคก็จะต้องสามารถกระตุ้นความสนใจ หรือสร้างความสนใจให้กับผู้บริโภคได้ และต้องสามารถยืนอยู่ในตลาดได้ยาวพอให้เกิดการคุ้มทุนการมีขนาดตลาดของกลุ่มเป้าหมายที่ใหญ่เพียงพอ และสภาวะของการแข่งขันที่ไม่รุนแรงมากนัก ก็จะเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้สูงขึ้นได้ฝรั่งจะมอง “โอกาส” เป็นเหมือนกับ “หน้าต่าง” จึงมักเรียกโอกาสว่าเป็น Window of Opportunity เพราะโอกาสมักจะเปิดหรือปิดก็ได้ สำหรับคนใดคนหนึ่งในเวลาใดเวลาหนึ่งแล้วเอสเอ็มอีไทยเราละครับ จะมองเห็นโอกาสเป็นอะไรดี ?!!?

ไม่มีความคิดเห็น: